960 จำนวนผู้เข้าชม |
ลูกค้าที่ตัดสินใจจะรับประทานปิ้งย่างหมูกระทะ หากไม่ใช่การทานครั้งแรกก็มักจะมีสิ่งที่คาดหวังจะได้ทำทานบนเตาหมูกระทะไฟฟ้าในใจกันมาอยู่แล้ว ดังนั้น หากทางร้านไม่ทำการบ้านและสำรวจตลาดให้ดี จนทำให้ไม่มีวัตถุดิบพื้นฐานบางอย่างให้บริการก็อาจส่งผลให้เสียลูกค้าในอนาคตได้
1. หมวดโปรตีน
โปรตีนพื้นฐานได้แก่ หมู เนื้อ ไข้ ปลา อาหารทะเล และเนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งแต่ละชนิดก็ควรตัดแต่งแยกย่อยเป็นส่วนต่าง ๆ ให้ลูกค้าได้เลือกเพิ่มได้อีก
2. หมวดผัก
ผักที่ควรเตรียมได้แก่ ผักบุ้ง ผักกาด แคร์รอต ฟักทอง กวางตุ้ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน เห็ดเข็มทอง เห็ดออรินจิ เห็ดหูหนู เห็ดหอม เต้าหู้ ฯลฯ ความสำคัญอยู่ที่การโฟกัสให้มีผักหลายสี หลายชนิด
3. หมวดคาร์โบไฮเดรต
ควรมีข้าวขาว ข้าวผัดกระเทียม ข้าวผัด วุ้นเส้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาจเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพเป็นอาหารจำพวกเส้นที่ให้พลังงานต่ำด้วย
4. หมวดอาหารทานเล่น
ที่ได้รับความนิยมมักจะเป็นหมวดของทอด ไม่ว่าจะเป็น ไส้กรอก หมูยอ เฟรนช์ฟราย นักเก็ต ฯลฯ หรืออาจมีสลัดบาร์ ติ่มซำ ยำ และส้มตำ เพื่อตัดเลี่ยนในมื้ออาหารด้วย
5. หมวดน้ำจิ้ม
ที่ควรมีเป็นพื้นฐานคือ น้ำจิ้มสุกี้ ซีฟูด จิ้มแจ่ว นอกจากนั้นก็ควรมีพื้นที่ ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าปรับรสชาติน้ำจิ้มได้ตามความต้องการโดยการเตรียมส่วนผสมแยกเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น พริกสดสับหยาบ กระเทียมสับหยาบ ต้นหอมผักชี เครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำตาล ผงชูรส ข้าวคั่ว ฯลฯ แล้วแต่ว่าสูตรน้ำจิ้มของทางร้านมีอะไรบ้าง
6. หมวดของหวาน
ของหวานพื้นฐานจะมี ผลไม้ตามฤดูกาลและไอศกรีมรสชาติต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่ได้เป็นองค์ประกอบหลักของมื้ออาหาร อาจจะเน้นแค่รสชาติและคุณภาพ ไม่ต้องเน้นเรื่องความหลากหลายมากนัก เว้นแต่ร้านที่สามารถชูโรงให้ของหวานเป็นเอกลักษณ์เรียกลูกค้าได้ก็ควรทำ
7. หมวดเครื่องดื่ม
เครื่องดื่มที่ควรมีให้บริการลูกค้าได้แก่ น้ำเปล่า น้ำอัดลมรสชาติต่าง ๆ น้ำผลไม้ และน้ำชารสชาติต่าง ๆ นอกจากนี้อาจรวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยในร้านที่มีนโยบายจำหน่าย
อันที่จริงแล้ว เหนือกว่าเรื่องความหลากหลายก็คือเรื่องคุณภาพของวัตถุดิบ ไม่ว่าจะมีวัตถุดิบให้ลูกค้าเลือกละลานตาแค่ไหน แต่ลองนึกดูว่า ถ้ามีคนพบความไม่สมบูรณ์ในสิ่งที่ร้านจัดเตรียมไว้ เพียงแค่หนึ่งคนก็เสี่ยงมากพอที่จะสร้างชื่อเสียให้ร้านได้
ดังนั้นทางร้านควรมีกระบวนการในการรักษาคุณภาพมาตรฐานของวัตถุดิบที่จะส่งต่อให้ลูกค้าเสมอ
1. มีซัพพลายเออร์เจ้าประจำ รวมถึงแผนสำรองเตรียมไว้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
2. คงมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบในแบบที่ลูกค้าชอบ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด การตัดแต่ง หรือการจัดวาง
3. การจัดเตรียมวัตถุดิบต้องสัมพันธ์กับอุปกรณ์เตาหมูกระทะไฟฟ้าหรือเตาหมูกระทะถ่านที่ร้านใช้ ทั้งขนาดและความหนา
4. ลงทุนกับกระบวนการและเครื่องมือการเก็บรักษาวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน
5. ตรวจเช็กสภาพวัตถุดิบให้ได้ตามมาตรฐานรายวันก่อนที่จะส่งมอบให้ลูกค้าเสมอ หากผิดเพี้ยนแม้แต่น้อยก็ต้องคัดออกทันที
รายการวัตถุดิบพื้นฐานและระบบรักษามาตรฐานคุณภาพของวัตถุดิบยังมีรายละเอียดปลีกย่อยได้อีกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน สัญชาติของอาหาร ลักษณะของกลุ่มลูกค้า หรือประเภทเตาหมูกระทะไฟฟ้าที่ใช้ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องคอยสำรวจตลาดอยู่เสมอ เพื่อให้ทางร้านสามารถนำเสนอวัตถุดิบที่สัมพันธ์กับความต้องการของลูกค้าได้อยู่ตลอดเวลา